เกร็ดความรู้การดูแล ภาวะไขมันในเลือดสูง

ศ.คลินิก แพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล
 อุปนายกสมาคมแพทย์แผนจีนประเทศไทย วิทยาลัยแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

เมื่อวันที่  13 กรกฎาคม 2561 ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขไทย ให้ห้ามผลิต นําเข้า หรือจําหน่าย น้ํามันหรืออาหารที่ผ่านหรือเป็นส่วนประกอบ ในกระบวนการเติมไฮโดรเจน เมื่อพ้นกําหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศ

โดยเหตุผลปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ํามันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจุบันโรคที่คร่าชีวิตประชากรไทยอันดับต้นๆ คือ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง (ถ้าไม่นับตายอุบัติเหตุที่เป็นอันดับ  2 )

ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง นอกจากภาวะเสี่ยงร่วมความดันโลหิตสูง เบาหวาน แล้ว มักมีสาเหตุสำคัญจากเกิดการสะสมตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด นานเข้าจะก่อตัวเป็นผนังเซลล์ที่หนาตัวและแข็ง ขาดความยืดหยุ่นและเกิดการตีบตันหรือฉีกขาดของหลอดเลือดได้ง่าย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันและแตก รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายได้

Cholesterol คืออะไร?  แหล่งที่มา?

Cholesterol เป็น สารชนิดหนึ่งคล้ายไขมัน ที่มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็งและกึ่งของเหลวสามารถพบได้ในเซลล์ทั่วไปของอวัยวะในร่างกาย โดยปกติร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ 70% (จากอวัยวะตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง) อีก30%  มาจากอาหารที่รับประทาน ได้แก่ ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่มีลักษณะแข็งตัวได้ ในอุณหภูมิห้อง(25 )ได้แก่  ไขมันสัตว์ ไขมันมะพร้าว ปาล์ม รวมถึงเช่น เนย ครีมเทียม เนยแข็ง ฯลฯ

สาเหตุของภาวะไขมันสูง

เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง  การออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย  โรคอ้วน ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การสูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ ทำให้เป็นโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (Familial Hypercholesterolemia)

ความสำคัญของ Cholesterol

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมถึงมนุษย์  Cholesterol นับว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต  เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์ (Cell Membrane) และเป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศทั้งเพศชายและเพศหญิง สังเคราะห์กรดน้ำดี เกลือน้ำดี (Bile Salt) ช่วยสร้างวิตามินดี  และเป็นฉนวนปกป้องห่อหุ้มเส้นใยประสาท

ไขมันดีและไขมันเลว

เมื่อเราได้บริโภคไขมันชนิดแข็ง(อิ่มตัว) หรือ เหลว(ไม่อิ่มตัว) เข้าไปในร่างกาย จะถูกย่อยเป็นกรดไขมันในร่างกาย ซึ่งชนิดของกรดไขมันนั้นมีความสำคัญและมีผลต่อสุขภาพหัวใจ รวมไปถึงตัวหลอดเลือด  ระดับของไขมันหลักๆ 4 ชนิด คือ

คอเลสเตอรอลรวม (ไม่ควรเกิน 200 มก./ดล.)

LDL หรือ คอเลสเตอรอลไม่ดี (ไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.)

HDL หรือ คอเลสเตอรอลดี (ควรมากกว่า 45 มก./ดล.)

ไตรกลีเซอไรด์ หรือ ไขมันไม่ดี (ไม่ควรเกิน 150 มก./ดล.)

Cholesterol รวม = LDL+ HDL+VLDL (VLDL = Triglycerides/5)

LDL มีส่วนประกอบ cholesterol เป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่เสมือนพาหนะขนส่ง cholesterol ไปในหลอดเลือดเพื่อไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

VLDL มีส่วนประกอบ triglycerides  เป็นส่วนใหญ่  ทำหน้าที่เสมือนพาหนะขนส่ง triglyceridesไปในหลอดเลือดเพื่อไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

ไขมันดี HDL มาสร้างสมดุล โดย HDLเสมือนพาหนะนำไขมัน cholesterolและ triglycerides ส่วนเกินจากหลอดเลือดมาขับทิ้งที่ตับ ทำให้หลอดเลือดสะอาด

เพราะฉะนั้นไขมันที่จะไปเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล คือ LDL และ ไตรกลีเซอไรด์ จึงเป็นไขมันที่สมควรบริโภคให้น้อยที่สุด  HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ดีควรมีให้มากเข้าไว้ โดย HDL จะเป็นตัวที่ช่วยเก็บกวาดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีมาทิ้ง

ที่ตับ ทำให้หลอดเลือดสะอาด ระดับไขมันในเลือดลดลงและลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน

อาหารกลุ่มกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) เมื่อรับประทานแล้ว ทำให้เพิ่มไขมันเลวทั้ง  LDL และ VLDL ลดไขมันดี HDL ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจหลอดเลือดและสมอง อีกทั้งเป็นสารก่อมะเร็งด้วย

เกณฑ์อัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างไขมันเลวและไขมันดีที่จะทำให้ไขมันไม่ก่อตัวหรือสะสมในหลอดเลือด เรียกว่า ความเสี่ยงต่ำต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

LDL / HDL < 3

Triglycerides / HDL < 2

Total cholesterol / HDL < 4

ยาแผนปัจจุบันยากลุ่มStatin ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมไขมันในเลือดที่นิยมใช้กันมากที่สุด และผลข้างเคียงของยาคืออะไร?

มีฤทธิ์ในการลดไขมันเลวทั้ง  LDL , VLDL (Triglycerides )และ cholesterol รวม

แต่อาการข้างเคียงที่รุนแรงที่สามารถพบได้ในคนไข้ บางราย ได้แก่ ปวด กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหดเกร็งหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงค่า เอ็นไซม์ตับสูง ตับอักเสบ ทำให้แนวโน้มการเกิดมะเร็งสูงขึ้น รวมถึง Coenzyme  Q10 ของร่างกายลดน้อยลง ทำให้ปวดกล้ามเนื้อและหัวใจอ่อนกำลังลง นอกจากนี้ยังอาจพบอาการข้างเคียงต่างๆ เช่น ท้องผูก ปวดท้อง คลื่นไส้ ปวด ศีรษะ ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

Coenzyme Q10 ลดลง มีผลต่อร่างกาย หัวใจ กล้ามเนื้อ

Coenzyme Q10 เป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้ในปฏิกิริยาการสร้างพลังงานภายในระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจนซึ่งเป็นกระบวนการสร้างพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้าขาด Coenzyme Q10  จะทำให้หัวใจขาดกำลังในการบีบตัว  มีการทดลองให้ Coenzyme Q10  กับผู้ป่วยก่อนผ่าตัด พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจหลังผ่าตัดฟื้นฟูได้ดีขึ้น และลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน อันเป็นสาเหตุของความเสื่อมในระบบอวัยวะต่างๆ  เชื่อว่าอาการปวดกล้ามเนื้ออาจเป็นผลจากการลดลงของ Coenzyme Q10