15 คำถามเกี่ยวกับ ภาวะไขมันในเลือดสูง

เรามีคำตอบไว้ให้ท่าน

ตอบ: สารชนิดหนึ่งคล้ายไขมัน ที่มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็งและกึ่งของ เหลวสามารถพบได้ในเซลล์ทั่วไปของอวัยวะในร่างกาย โดยปก ติร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ 70%(จากอวัยวะตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง) อีก30% มาจากอาหาร ที่รับประทาน ได้แก่ ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่มีลักษณะแข็งตัวได้ ในอุณหภูมิห้อง(25 องศาเซลเซีส) ได้แก่ ไขมันสัตว์ ไขมันมะพร้าว ปาล์ม รวมถึงเช่น เนย ครีมเทียม เนยแข็ง ฯลฯ

ตอบ: สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมถึงมนุษย์ Cholesterol นับว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เป็น ส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์ (Cell Membrane) และ เป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศทั้งเพศ ชายและเพศหญิง สังเคราะห์กรดน้ำดี เกลือน้ำดี (Bile Salt) ช่วย สร้างวิตามินดี และเป็นฉนวนปกป้องห่อหุ้มเส้นใยประสาท

ตอบ: คำนวณจากผลรวมของไขมันเลว LDL+ ไขมันเลว
VLDL+ไขมันดี HDL
ไขมันเลว VLDL ได้จากค่าประมาณการ 20% ของ ค่าTriglycerides
Cholesterol รวม = LDL+ HDL+ Triglycerides/5

ตอบ: LDL มีส่วนประกอบ cholesterol 26% triglycerides10% ทำหน้าที่เสมือนพาหนะขนส่ง cholesterol ไปใน หลอดเลือดเพื่อไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

VLDL มีส่วนประกอบ triglycerides 70% cholesterol 10%ทำหน้าที่เสมือนพาหนะขนส่ง triglyceridesไปในหลอดเลือดเพื่อ ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

LDLและ VLDL ปริมาณที่มากเกินไป ถูกเรียกว่าไขมันเลว เพราะจะทำให้เกิดการสะสมตัวของไขมันที่ผนังเส้น นานเข้าจะก่อตัว เป็นผนังเซลที่หนาตัวและแข็ง ขาดความยืดหยุ่นและเกิดการตีบตันของ หลอดเลือด มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันและ แตก รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายได้

โดยธรรมชาติร่างกายจึงสร้างไขมันดี HDL มาสร้างสมดุล โดย HDLเสมือนพาหนะนำไขมัน cholesterolและ triglycerides ส่วนเกิน จากหลอดเลือดมาขับทิ้งที่ตับ

ตอบ: ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ได้จากการกินอาหารไขมันโดยตรง และถูกสร้างขึ้นที่ตับ จากอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล โปรตีน และแอลกอฮอล์ที่บริโภคมากเกิน ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และเก็บสะสมไว้ที่ชั้นใต้ ผิวหนังบริเวณพุงของผู้ชาย หรือต้นแขน ต้นขา และสะโพก ของผู้หญิง หรือสะสมที่ตับเป็นไขมันพอกตับ

ถ้ามีไขมันชนิดนี้สูงมาก จะสะสมทำให้ตับอ่อนอัก เสบได้ และจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัว ใจ โดยทำให้ไขมันไม่ดีไปสะสมในผนังหลอดเลือดแดงได้ เร็วขึ้น

ตอบ: ส่วนมากมาจากร่างกายสร้างขึ้น อีกส่วนได้จาก อาหารโดยเฉพาะจากไขมันอิ่มตัว คือ ไขมันจากสัตว์ทุก ชนิด (ยกเว้นปลา) ไข่ นม อาหารทะเล ไขมันอิ่มตัวจากพืช สกุลปาล์ม เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว รวมถึงกลุ่ม อาหารไขมันทรานส์ Trans fatty acid เนย ชีส ไอศกรีม เค้ก คุกกี้ น้ำสลัดสำเร็จรูป เป็นต้น เมื่อกินเข้าไปแล้วจะ ไปเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ในร่างกาย

ตอบ: กลุ่มอาหารไขมันทรานส์ Trans fatty acid มีมาก ในน้ำมันไม่อิ่มตัวที่ ทอดซ้ำ หรือน้ำมันที่ผ่านกรรมวิธีโดย การเติมไฮโดรเจนเพื่อให้มีคุณสมบัติที่ไม่เป็นไขและไม่เหม็นหืน จากออกซิเจนในอากาศได้โดยง่าย ได้แก่ นมอบ เบเกอรี่ มากา รีน ครีมเทียม เนยเทียม เนยขาว พีนัทบัตเตอร์ ขนมกรุบกรอบ แทบทุกชนิด คุกกี้ โดนัท รวมถึงการทอดแบบน้ำมันท่วม เช่น มันฝรั่งทอด ปาท่องโก๋ ข้าวโพดคั่ว ไก่ทอด หมูทอด ปลาทอด เนื้อทอด

อาหารกลุ่มนี้ รับประทานแล้ว ทำให้เพิ่มไขมันเลวทั้ง LDL และ VLDL ลดไขมันดี HDL ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ หลอดเลือดและสมอง อีกทั้งเป็นสารก่อมะเร็งด้วย

ตอบ: การยกระดับไขมัน HDL cholesterol ให้สูงขึ้นได้ด้วยการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม 

  • การออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (AEROBIC EXERCISE)ครั้งละ 20 -30 นาที
  • สารใยอาหาร (soluble fibers) ที่พบได้ในข้าวโอต, ผลไม้, ผักสามารถทำให้ระดับไขมัน LDL cholesterol ลดลง และในขณะเดียวกันจะเพิ่มระดับ HDL cholesterol ขึ้น
  • พวกไขมันไม่อิ่มตัว (monounsaturated fats)น้ำมันมะ กอก อโวคาโด คาโนลา น้ำมันเมล็ดองุ่น และน้ำมันถั่ว ลิสง ส่วนน้ำมันมะกอกนั้นดีต่อสุขภาพมากที่สุด หลีก เลี่ยงไขมันอิ่มตัว (saturated fat) และไขมันทรานส์ (transfats)
  • อย่าให้อ้วนลดน้ำหนักตัว ไม่สูบบุหรี่,ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • สำหรับยา niacin(vitamin B3) สามารถเพิ่มระดับ HDL cholesterol ได้จริงแต่ต้องใช้ในปริมาณสูงมาก ซึ่งไม่ เหมาะที่จะนำมาใช้ในด้านปฏิบัติเพราะทำให้เกิดอาการ คัน (itching) ออกร้อน หน้าแดง

ตอบ: ยากลุ่มStatin มีฤทธิ์ในการลดไขมันเลวทั้ง LDL , VLDL (Triglycerides )และ cholesterol รวม

แต่อาการข้างเคียงที่รุนแรงที่สามารถพบได้ในคนไข้ บางราย ได้แก่ ปวด กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหดเกร็งหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงค่า เอ็นไซม์ตับสูง ตับอักเสบ ทำให้แนวโน้มการเกิดมะเร็งสูง ขึ้น รวมถึง Coenzyme Q 10 ของร่างกายลดน้อยลง ทำให้ปวด กล้ามเนื้อและหัวใจอ่อนกำลังลง นอกจากนี้ยังอาจพบอาการข้าง เคียงต่างๆ เช่น ท้องผูก ปวดท้อง คลื่นไส้ ปวด ศีรษะ ติดเชื้อทางเดิน หายใจส่วนบน

ตอบ: เนื่องจากการสังเคราะห์ Coenzyme Q 10 มีวิถีร่วมกัน กับการสังเคราะห์ cholesterol โดยมีสารตั้งต้น คือกรดเมวาโลนิก (mevalonic acid ) ดังนั้นการให้ยายับยั้งการสังเคราะห์โคเลสเตอรอล ในกลุ่มยาสเตติน (statin) จึงมี ผลต่อการลดระดับของ Coenzyme Q 10 ในเลือดด้วย

ตอบ: Coenzyme Q10 เป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น มาเพื่อใช้ในปฏิกิริยาการสร้างพลังงานภายในระดับเซลล์แบบใช้ ออกซิเจนซึ่งเป็นกระบวนการสร้างพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้าขาด Coenzyme Q 10 จะทำให้หัว ใจขาดกำลังในการบีบตัว มีการทดลองให้ Coenzyme Q 10 กับผู้ ป่วยก่อนผ่าตัด พบว่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจหลังผ่าตัดฟื้นฟู ได้ดีขึ้น และลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหัวใจได้ นอกจา กนี้ยังมีคุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดภา วะเครียดออกซิเดชัน อันเป็นสาเหตุของความเสื่อมในระบบอวัยวะ ต่างๆ

ปี ..1970 Professor Endo ชาวญี่ปุ่นได้ค้นพบ monacolin K จากการหมักข้าวยีสต์แดง (Red yeast rice ) โดยสารสำคัญ Monacolin K มีประโยชน์กับผู้ที่มี ไขมันในเลือดสูง โดยออก ฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์เอชเอ็มจีโคเอรีดักเทส (inhibitor of HMG-CoA reductase) ในการสังเคราะห์โคเลสเตอรอลในตับ ซึ่ง มีกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกับกลุ่มยา Statin

ข้อแตกต่างคือ Monacolin K เป็นสารจากธรรมชาติ ขณะที่ Statinเป็นยาสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

 

ผลการทดลองใช้ Monacolin K ขนาด 11.4 มก.ต่อวัน นาน 8 สัปดาห์ของหน่วยงานด้านความปลอดภัยด้านอาหารของยุโรป (the European Food Safety Authority) ค่าโคเลสเตอรอลลด ลง 26.3 % ไตรกลีเซอไรด์ลดลง20.4 %

ตอบ: 

1.ไม่มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน

2.พิษต่อตับและไต ปวดกล้ามเนื้อ

3. Coenzyme Q10 ของหัวใจลดน้อยลง

4. มีสารที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมักข้าว คือ Citrinin ที่มีพิษต่อไต

5. คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร

ตอบ: 

  • เลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีcholesterol ต่ำ เช่น เนื้อปลา หลีก เลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน และหนัง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีcholesterol สูง เลือกดื่มนมไขมันต่ำ หรือนมถั่วเหลือง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันจากสัตว์ทุกชนิด น้ำมัน จากพืชสกุลปาล์ม เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ และ ไขมันทรานส์หรือไขมัน มฤตยู ซึ่งพบเห็นในอาหารสำเร็จรูป ทั้งหลาย ไขมันทรานส์มักทำจากน้ำมันพืชที่แปรรูปจากน้ำมันที่ เดิมเป็นของเหลวกลายเป็นไขที่แข็งเป็นก้อน ซึ่งใช้ในอุตสาห กรรมอาหาร เช่น ขนมอบ หรือเบเกอรี่ที่มีมาการีน (เนยเทียม) และครีมเทียม ฯลฯ รวมถึง น้ำมันพืชที่ใช้ทอดซ้ำหลายๆครั้ง ด้วยอุณหภูมิที่สูง
  • เลือกบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันดี เลือกไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีวิ ตามินเอฟ (Vitamin F) หรือ กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) จะช่วยลดไขมัน LDL และลดโคเลสเตอรอล โดยทำให้การเผา ผลาญโคเลสเตอรอลที่ตับเพิ่มขึ้น ไขมันไม่อิ่มตัว หมายถึง ไขมันจากพืชเกือบทุกชนิด ยกเว้ นพืชสกุลปาล์ม และมะพร้าว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก และไขมันโอเมก้า 3
  • การผัด หรือทอดควรใช้ไขมันไม่อิ่มตัว ด้วยความร้อนที่ไม่สูง มาก หรือไม่ให้ถึงจุดเกิดควันรวมถึงน้ำมันทอดซ้ำ เพราะจะ กลายสภาพเป็นน้ำมันทรานส์
  • เลือกบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง เลือกผัก และผลไม้รสหวาน น้อย ชนิดที่มีใยอาหารสูง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ถั่วเขียว ข้าวโพด อ่อน แครอท ถั่วฝักยาว เม็ดแมงลักฯ จะช่วยลดโคเลสเตอรอล ในเลือด โดยใยอาหารจะจับกับน้ำดีที่มีส่วนประกอบ ของcholesterol ในลำไส้เล็ก และทำให้การดูด ซึมcholesterolจากอาหารเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง
  • การเพิ่ม HDL การออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง ด้วยการเดิน, จอกกิ่ง, ปั่นจักรยานเพิ่มการเต้นของหัวใจ (HEART RATE) ได้ครั้งละ 20 -30 นาที เป็นวิธีที่ดีทีทำให้ระดับของ HDL CHOLESTEROL สูงขึ้นประมาณร้อยละ 5
  • ลด และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดปริมาณแป้ง ของหวานเพิ่มผัก และถั่วชนิดต่างๆ เข้าไปแทน หลีกเลี่ยงการ ทานอาหารหนักในมื้อเย็นและการทานอาหารตอนดึก
  • เลิกสูบบุหรี่ ลด และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ไขมัน ชนิดดี เพิ่มมาก
  • ควรนอนให้เพียงพอทุกวัน ควบคุมอารมณ์ รู้จักผ่อนคลาย ความเครียด

บทความ สาระน่ารู้

เรามีบทความที่เป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน ให้ท่านแล้วที่นี่